ระบบที่ซับซ้อนนี้จำเป็นต้องมีชุดแผงควบคุมพิเศษเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคุณสมบัติมากมายที่มีอยู่ภายใน แผงควบคุมเหล่านี้คือระบบจัดการจราจรขึ้นลงและบริการเฉพาะบุคคลภายในอาคารสูง (Personal Occupant Requirement Terminal) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเทคโนโลยี PORT เทอร์มินัล PORT ชุดใหม่ทั้งหมดของเรามีคุณสมบัติอันหลากหลายซึ่งครอบคลุมฮาร์ดแวร์ภายในที่ได้มาตรฐาน เทอร์มินัล PORT มีความหลากหลาย รวมถึงสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางด้านสถาปัตยกรรมและฟังก์ชันการทำงาน ณ จุดที่มีการโต้ตอบใดๆ ได้
เทคโนโลยี PORT มีฟังก์ชันการทำงานมากกว่าระบบลิฟต์ใดๆ ในประวัติศาสตร์ โดยมาพร้อมคุณสมบัติที่หลากหลายและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นอกจากการใช้กลุ่มลิฟต์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดแล้ว ผู้โดยสารที่ใช้บริการจะเพลิดเพลินไปกับการโดยสารไปยังจุดหมายปลายทางได้อย่างราบรื่น โดยมีการเข้าจอดระหว่างทางเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ คุณสมบัติด้านการรักษาความปลอดภัยที่แทรกไว้ในการออกแบบยังช่วยให้รู้สึกวางใจได้ตลอดการเดินทาง
Schindler ต่อยอดเทคโนโลยี PORT ขึ้นจากประสบการณ์ 30 ปีอันเป็นเอกลักษณ์ของระบบที่เรียกว่าการควบคุมการเรียกไปยังปลายทาง ซึ่งช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพทางด้านการจัดการจราจรของกลุ่มลิฟต์ได้อย่างดี
ในช่วงทศวรรษ 1990 ความสูงของอาคารเริ่มได้รับการจำกัดตามจำนวนลิฟต์เพิ่มเติมที่จำเป็นในการมอบบริการที่ดี ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในอุตสาหกรรมว่าวิธีที่ให้ผู้โดยสารระบุจุดหมายปลายทางได้ก่อนเข้าลิฟต์จะนำไปสู่การบริการที่ดีขึ้นจากกลุ่มลิฟต์ที่เจาะจง อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาความล่าช้าได้ อย่างไรก็ตาม ไม่มีบริษัทใดในอุตสาหกรรมสามารถสร้างระบบตามแนวคิดนี้ที่ใช้งานได้จริง ในปี 1992 ทาง Schindler ได้เปิดตัว Miconic 10 ซึ่งเป็นระบบควบคุมการเรียกไปยังปลายทางที่ใช้งานได้จริงระบบแรก และกลายเป็นผู้พลิกโฉมตลาดลิฟต์ ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 ที่เห็นได้ชัดแล้วว่าระบบควบคุมการเรียกไปยังปลายทางเป็นหนทางสู่การพัฒนา ขณะที่บริษัทอื่นๆ เพิ่งเริ่มนำเสนอผลิตภัณฑ์ดังกล่าว แต่ Schindler เองได้พัฒนาระบบมาถึงรุ่นที่สองแล้ว โดยเทคโนโลยี PORT นี้ก็เป็นรุ่นที่สาม!
เมื่อผู้โดยสารแจ้งชั้นปลายทางที่ตนเองต้องการกับ PORT ไม่ว่าจะผ่านทางเทอร์มินัล, การ์ด RFID หรือสมาร์ตโฟน ระบบจะวิเคราะห์วิธีการที่เป็นไปได้ทุกรูปแบบที่สามารถจัดเตรียมการโดยสารนี้ โดยพิจารณาจากการเรียกลิฟต์อื่นๆ ทั้งหมดในระบบและการใช้งานปัจจุบันของลิฟต์แต่ละตัว การใช้อัลกอริทึมพิเศษซึ่งเป็นผลมาจากการวิจัยหลายปีจะกำหนดการจัดสรรลิฟต์อย่างเหมาะสมและสื่อสารกับผู้โดยสารผ่านทางเทอร์มินัลหรือโทรศัพท์ จากนั้นผู้โดยสารจะสามารถยืนรอหน้าประตูลิฟต์ที่กำหนดเพื่อก้าวเข้าลิฟต์อย่างรวดเร็วและไปยังชั้นที่ต้องการโดยมีการหยุดตามชั้นน้อยที่สุด
เราเชื่อว่าการกระจายลิฟต์ด้วยเทคโนโลยี PORT เป็นจุดสูงสุดในอุตสาหกรรมยุคปัจจุบัน แต่เราจะไม่หยุดอยู่แค่นั้น เราได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากลิฟต์หลายพันเครื่องที่เราใช้งานทั่วโลกทุกปี ซึ่งทีมวิจัยของเราจะนำไปใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดีขึ้น เราตั้งใจที่จะรักษาตำแหน่งผู้นำด้านประสิทธิภาพต่อไป
โดยทั่วไป ประสิทธิภาพในลิฟต์สามารถแบ่งออกได้เป็นสองสิ่งซึ่งเกี่ยวข้องกัน ประสิทธิภาพในการจัดการผู้โดยสารและประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน
อัตราที่ลิฟต์สามารถรองรับผู้โดยสารได้นั้นย่อมมีความสำคัญต่อการดำเนินงานโดยรวมของอาคาร ตัวอย่างเช่น ในอาคารสำนักงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาเร่งด่วนในตอนเช้า หากจำนวนลิฟต์ที่ติดตั้งไม่สามารถขนย้ายผู้คนไปยังชั้นของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ คิวก็จะยาวและส่งผลให้ผู้โดยสารหงุดหงิดใจ อีกทั้งยังส่งผลเสียต่อชื่อเสียงของอาคาร การติดตั้ง PORT จะช่วยให้แน่ใจว่าผู้โดยสารที่เดินทางไปยังชั้นเดียวกันจะได้รับการจัดสรรไปยังลิฟต์โดยสารตัวเดียวกันเมื่อจำเป็น ซึ่งหมายความว่าจะลดจำนวนครั้งที่ลิฟต์จะเข้าจอดระหว่างการเคลื่อนขึ้นไปตามตัวอาคารลง จึงส่งผลให้ใช้เวลาสั้นลงก่อนที่จะกลับลงมายังล็อบบี้ได้ เนื่องจากลิฟต์แต่ละตัวกลับมาที่ล็อบบี้บ่อยขึ้น ความสามารถในการให้บริการผู้โดยสารที่มาถึงจึงเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนประสิทธิภาพในการจัดการจราจรก็สูงมากขึ้นเช่นกัน
เมื่อพิจารณาถึงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เราควรชี้ให้เห็นว่าลิฟต์ของ Schindler แต่ละตัวมีการติดตั้งเทคโนโลยีการขับเคลื่อนและวัสดุล่าสุดเพื่อมอบประสิทธิภาพในระดับสูงสุด แต่เราสามารถทำได้มากกว่านั้นเมื่อใช้ PORT ลิฟต์ PORT สามารถทำงานในลักษณะที่กลุ่มลิฟต์จะมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานมากขึ้น โดยใช้คุณสมบัติที่เราเรียกว่าตัวเลือกการควบคุมพลังงาน หรือ ECO ในโหมด ECO ระบบจะมีเวลารอลิฟต์ที่รับได้สำหรับผู้โดยสารทุกคน พร้อมทั้งให้บริการผู้โดยสารในลักษณะที่ประหยัดพลังงานไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเมื่อกลุ่มลิฟต์ทั่วไปใช้พลังงานมากที่สุดเมื่อมีความต้องการของผู้โดยสารต่ำ ในช่วงที่มีผู้ใช้ลิฟต์ใช้น้อย ซึ่งมักจะเป็นช่วงเวลาส่วนใหญ่ของวัน ลิฟต์แต่ละตัวจะรับผู้โดยสารและนำไปยังชั้นปลายทางได้อย่างรวดเร็วโดยแทบไม่มีผู้โดยสารคนอื่นภายในลิฟต์เลย ด้วยเหตุนี้ ลิฟต์จึงมักจะเคลื่อนตัวผ่านหลายชั้นเพื่อรองรับผู้โดยสารเพียงไม่กี่คน ยิ่งไปกว่านั้น ลิฟต์โดยทั่วไปจะมีการถ่วงดุลน้ำหนักบรรทุกที่ 50% ห้องโดยสารในระบบจึงเคลื่อนที่ในสภาวะไม่สมดุล ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองพลังงาน โหมด ECO สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ โหมด ECO สามารถใช้ลิฟต์จำนวนน้อยลงโดยมีปริมาณผู้โดยสารต่อห้องโดยสารมากขึ้น จึงส่งผลให้เที่ยวโดยสารสั้นลงและถ่วงดุลน้ำหนักบรรทุกได้ดีขึ้นเพื่อประหยัดพลังงาน ด้วยเหตุนี้ โหมด ECO จึงลดการใช้พลังงานของลิฟต์ให้เหลือน้อยที่สุด ขณะที่ดูแลไม่ให้เวลารอของผู้โดยสารเกินระดับที่กำหนด ส่งผลให้ความพึงพอใจของลูกค้าและประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงสุดในเวลาเดียวกัน
เราสอดใส่คุณสมบัติด้านการรักษาความปลอดภัยไว้ในหัวใจสำคัญของระบบ PORT และสามารถดำเนินการได้ในหลายระดับ อีกทั้งยังมีแผนจัดการทางอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่ายเพื่อบูรณาการระบบทางอาคารหรือทางองค์กรระดับสากลซึ่งมีอยู่ก่อนแล้วเข้าไปในระบบ PORT ได้ ปัจจุบัน ลูกค้าจำนวนมากได้เรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติทางการรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุมจากระบบ PORT และตัดสินใจที่จะใส่ระบบดังกล่าวไว้ในส่วนสำคัญของกลยุทธ์ด้านการรักษาความปลอดภัยของอาคาร
หัวใจสำคัญของแนวคิดด้านการรักษาความปลอดภัยของ PORT คือการสื่อสารให้ลูกค้าทราบว่าลูกค้าต้องระบุความต้องการของตนเพื่อที่เราจะให้บริการพวกเขาได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อลูกค้าแตะการ์ด RFID ของตนบนแผงกั้น ระบบ PORT ไม่เพียงแต่ให้สิทธิ์เข้าถึงอาคารเท่านั้น แต่ยังแจ้งให้ลูกค้าทราบด้วยว่าต้องใช้ลิฟต์ตัวใดเพื่อไปยังชั้นปลายทางในตอนเช้า ลิฟต์ PORT มีเทอร์มินัลพร้อมเครื่องอ่านการ์ดในตัว ซึ่งหมายความว่าจะสามารถทำกิจกรรมด้านการรักษาความปลอดภัยได้เสมอไม่ว่าติดตั้งจะอยู่ในตำแหน่งใดก็ตาม ซึ่งโดยส่วนมากจะติดตั้งอยู่ที่แผงกั้น ซึ่งการออกแบบ PORT อันโฉบเฉี่ยวสามารถผสานการทำงานเข้าไปได้อย่างลงตัว หรือหากจำเป็น Schindler สามารถจัดหาเครื่องกั้นเปิดปิดเร็วที่เป็นกรรมสิทธิ์ของเราได้
myPORT ยังมีระดับฟังก์ชันการทำงานที่ดียิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งสามารถใช้ร่วมกับหรือทดแทนการ์ดได้ เช่นเดียวกับโซลูชันการ์ด RFID สุดท้ายนี้ แม้ว่าข้อมูลในส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับ PORT เป็นหลักเนื่องจากเกี่ยวข้องกับลิฟต์ แต่เราสามารถขยายระบบดังกล่าวได้อีกมากมายเพื่อมอบการควบคุมการเข้าถึงในพื้นที่ต่างๆ ภายในอาคาร
เราออกแบบทุกแง่มุมของ PORT โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของผู้โดยสาร เราต้องการให้ทุกแง่มุมที่ผู้ใช้ของเราสัมผัสกับ PORT เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ใช้พึงพอใจจากความรู้สึกปลอดภัย ความผ่อนคลาย และความสะดวกสบาย เป้าหมายของเราคือการกระตุ้นให้รู้สึกว่านี่คือความเป็นอยู่ที่ดี และรู้สึกว่าระบบพร้อมให้บริการที่ปรับให้เหมาะกับผู้ใช้นับตั้งแต่วินาทีที่พวกเขาเข้ามาในอาคาร แล้วรับสิทธิ์เข้าถึง เดินไปที่ลิฟต์ และโดยสารไปยังชั้นที่ต้องการอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องสัมผัสพื้นผิวใดๆ
เราจะเรียนรู้ว่าโดยปกติแล้วผู้ใช้ต้องการไปที่ไหนในช่วงเวลาหนึ่ง และพยายามคาดการณ์เพื่อเตรียมตอบสนองความต้องการของพวกเขา เราจะพยายามจัดสรรลิฟต์ให้ไม่แออัดจนเกินไปและไปถึงจุดหมายปลายทางโดยไม่ต้องเข้าจอดระหว่างทาง และเหนือสิ่งอื่นใด เราจะพยายามทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่า PORT พิจารณาการเดินทางแต่ละครั้งของผู้โดยสารว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง